หน้าแรกพระราชสำนักในหลวง-พระราชินี เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเปิดโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อำเภอมวกเหล็ก

ในหลวง-พระราชินี เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเปิดโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อำเภอมวกเหล็ก

กดที่นี่เพื่ออ่านข่าว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเปิดโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 17.22 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเปิดโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

อาจเป็นรูปภาพของ 13 คน

เมื่อเสด็จฯ ถึงสนามเฮลิคอปเตอร์ ชั่วคราว โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ช่วยทางานชั่วคราวในตำแหน่ง อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 แม่ทัพภาคที่ 1ผู้บัญชาการตารวจภูธรภาค 1 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายต่าง ๆ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ

อาจเป็นรูปภาพของ 10 คน และ ข้อความ

จากนั้น ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปยังลานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้านหน้าอาคาร กองบัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช การนี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายต่าง ๆ และประชาชน เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ

อาจเป็นรูปภาพของ 11 คน, แท่นบรรยาย และ ข้อความ

การนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธนวราชบพิตรทรงกราบ ทรงศีล  จากนั้นพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ กราบบังคมทูลรายงาน การจัดสร้างโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และกราบบังคมทูลรายงาน วัตถุประสงค์ของการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ ฯ พร้อมกับขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญเสด็จ ฯ ทรงประกอบพิธีเปิดโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ฯ และกราบบังคมทูลเบิก พลอากาศโท จักรกฤษณ์ ธรรมวิชัย ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชเพื่อเบิกผู้มีอุปการคุณ เข้ารับพระราชทานของที่ระลึก ตามลำดับ

อาจเป็นรูปภาพของ 10 คน

ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เสด็จออกจากพลับพลาพิธี ทรงพระดำเนินขึ้นลานพระบรมราชานุสาวรีย์ ฯ เสด็จ ฯ ไปยังแท่นพิธีทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยา และเสด็จฯ ไปยังแท่นพิธี ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แล้วเสด็จ ฯ ไปยังฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ฯ ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมแผ่นคำจารึกที่ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ฯ ทรงวางพุ่มดอกไม้ ทรงวางพวงมาลัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะ

อาจเป็นรูปภาพของ 4 คน และ ข้อความ

ทรงกราบ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระมราชินี ทรงวางพุ่มดอกไม้ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และทรงวางพุ่มดอกไม้ส่วนพระองค์ ทรงวางพวงมาลัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะ ทรงกราบ

สำหรับพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีลักษณะพระอิริยาบถทรงยืน พระหัตถ์ซ้ายทรงประคองกระบี่ ฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ คลุมด้วยฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประกอบด้วย เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรี บรมราชวงศ์ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ วัสดุที่ใช้จัดสร้างเป็นโลหะผสม รมผิวสีดำมันปู มีความสูง ๔.๒๕ เมตร ส่วนแท่นประดิษฐานสูง 4.20 เมตร จึงมีความสูงรวม 8.45 เมตร พร้อมเชิญอักษรพระปรมาภิไธย ภปร ประดิษฐานที่แท่นฐาน

อาจเป็นรูปภาพของ 13 คน, อนุสาวรีย์ และ ข้อความพูดว่า "โรงเรียนนายเรืออากาศ ยนนาย ออากาศ u โรงเรียนน иHHиHиHИ 1 лииUииИ"

จากนั้นเสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก (พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก) แล้วพระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้มีอุปการคุณตามลำดับ  และพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลอากาศโท จักรกฤษณ์ ธรรมวิชัย ผู้บัญชาการโรงเรียนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เข้าเฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายแผ่นศิลาเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และทรงลงพระนามาภิไธย ในแผ่นศิลา เสด็จ ฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ ทรงลาพระสงฆ์

อาจเป็นรูปภาพของ 7 คน และ วัด

เสด็จออกจากพลับพลาพิธี ไปยังบริเวณที่ปลูกต้นไม้หน้าลานพระบรมราชานุสาวรีย์ ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงปลูกต้นรวงผึ้ง แล้วเสด็จฯไปยังอาคารกองบังคับการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ทรงวางพุ่มดอกไม้ ทรงวางพวงมาลัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายสักการะ พระรูปจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย และทอดพระเนตรแบบจำลองอาคารและสถานที่ภายในโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เสด็จเข้าห้องรับรอง ทรงลงพระปรมาภิไธยและทรงลงพระนามาภิไธยในสมุดที่ระลึก แล้วทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และผู้บริหารโรงเรียนนายเรืออากาศนามินทกษัตริยาธิราช จำนวน 3 ชุด

อาจเป็นรูปภาพของ 5 คน, แท่นบรรยาย และ งานแต่งงาน

แล้วพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้าเฝ้า ฯ น้อมเกล้า ถวายพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (จำลอง) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (จำนวน 1 องค์) และนางมนทิรา พัฒนกุล นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ เข้าเฝ้า ฯ น้อมเกล้า ฯ ถวายพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  แด่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี (จำนวน 1 องค์) เมื่อสมควรแก่เวลา ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จ ฯ ออกจากอาคารกองบังคับการ ฯ ไปยังสนามเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เพื่อประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เสด็จ ฯ ออกจากสนามเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ไปยังสนามเฮลิคอปเตอร์ พระลานพระราชวังดุสิต

อาจเป็นรูปภาพของ 6 คน และ ข้อความ

ทั้งนี้ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตนายทหาร สัญญาบัตรหลักให้แก่กองทัพอากาศ สถาปนาครั้งแรกในชื่อ โรงเรียนนายเรืออากาศ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2496 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยใช้อาคารกองบัญชาการทหารญี่ปุ่นในห้วงสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือตึกเหลือง เป็นอาคารเรียนหลังแรก จนกระทั่งพุทธศักราช 2502 จึงย้ายเข้าสู่ที่ตั้งใหม่ ซึ่งเป็นนิคมทหารอากาศ ดอนเมือง  ถนนพหลโยธิน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2507

อาจเป็นรูปภาพของ 9 คน

การนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับเป็นนักเรียนนายเรือ อากาศ หมายเลขประจำพระองค์ 752 (เจ็ด ห้า สอง) และทรงรับดำรงตำแหน่งหัวหน้านักเรียนนายเรืออากาศ พิเศษ อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้แก่กองทัพอากาศ และโรงเรียนนายเรืออากาศ พุทธศักราช 2554 ซึ่งเป็นปีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กองทัพอากาศจึงทำแผน ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศ ไปยังที่ตั้งใหม่ ณ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี พร้อมทั้งได้กราบบังคมทูล ขอพระราชทานชื่อโรงเรียนนายเรืออากาศแห่งใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคล อันจะนำมาซึ่งการพัฒนานักเรียน นายเรืออากาศ ให้มีอุดมการณ์ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน มีคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นผู้นำ ตลอดจนมีความรู้ความสามารถ พร้อมที่จะปกป้องอธิปไตยของชาติ และเป็นกำลังสำคัญ  ร่วมพัฒนาประเทศชาติต่อไป

อาจเป็นรูปภาพของ 9 คน

และในปี พุทธศักราช 2556 ในโอกาสครบรอบ 60 ปี โรงเรียนนายเรืออากาศ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช” อันมีความหมายว่า “โรงเรียนนายเรืออากาศใหม่ ที่สร้างขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นกษัตริยาธิราชที่ยิ่งใหญ่ รัชกาลที่ 9”

โรงเรียนนายเรืออากาศใหม่ หรือโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ณ อำเภอ มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ดำเนินการสร้างโดยศึกษาต้นแบบจากสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ศึกษาการออกแบบอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ภูมิสถาปัตย์ รวมถึงด้าน สิ่งแวดล้อม จากโรงเรียนนายเรืออากาศโคโรลาโด สหรัฐอเมริกา มีการจัดหลักสูตรการฝึกศึกษาที่เป็น มาตรฐานสากล อุปกรณ์การศึกษาที่ทันสมัย เริ่มเปิดการศึกษาตั้งแต่ปี ๒๕๖๖ และในปีนี้ ถือเป็นการครบรอบ 72 ปี นับตั้งแต่สถาปนาโรงเรียนนายเรืออากาศแห่งแรกของไทยในปี 2496.

ที่มาพระลาน
Ad 1
Ad 2
pratipon47
pratipon47http://www.เรื่องจริงผ่านเลนส์.online
ผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการ