หน้าแรกทั่วไปกทม. ขานรับนโยบาย ศธ. ยกเว้นแต่งชุดลูกเสือ-เนตรนารี-ยุวกาชาดโรงเรียนในสังกัด พร้อมจัดสวัสดิการ 20 รายการ

กทม. ขานรับนโยบาย ศธ. ยกเว้นแต่งชุดลูกเสือ-เนตรนารี-ยุวกาชาดโรงเรียนในสังกัด พร้อมจัดสวัสดิการ 20 รายการ

กดที่นี่เพื่ออ่านข่าว

กทม. ขานรับนโยบาย ศธ. ยกเว้นแต่งชุดลูกเสือ-เนตรนารี-ยุวกาชาดโรงเรียนในสังกัด
พร้อมจัดสวัสดิการ
20 รายการ

นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา (สนศ.) กทม.

กล่าวถึงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องแบบและการแต่งกายชุดลูกเสือ-เนตรนารี และยุวกาชาดของโรงเรียนสังกัด
กทม. ที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รวมทั้งการดำเนินการในด้านต่าง ๆ
เพื่อดูแลคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดว่า กทม.
ได้กำหนดแนวทางการแต่งเครื่องแบบลูกเสือและยุวกาชาดของโรงเรียนในสังกัด กทม.
ซึ่งได้แจ้งให้โรงเรียนในสังกัดทั้ง 437 โรงเรียน สังกัด 50 สำนักงานเขต ได้ทราบและถือปฏิบัติตามหนังสือ กทม. ที่ กท
0807/ว272 ลงวันที่ 12 ต.ค. 65 และที่ กท 0807/ว9 ลงวันที่ 13 ม.ค. 66 ซึ่งมีรายละเอียดการยกเว้น ดังนี้
“โดยในกรณีที่ผู้เรียนไม่สามารถจัดหาเครื่องแบบได้ ให้ใช้เครื่องแบบนักเรียน ประดับเครื่องหมายของแต่ละประเภท

สวมผ้าผูกคอและหมวกได้” โดยแนวทางข้อยกเว้นดังกล่าว
เป็นการยืดหยุ่นที่ปรับเปลี่ยนตามกาลสมัยและวันเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายของ กทม.
เพื่อให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจและสังคม และเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง
อย่างไรก็ตาม ยังคงแก่นแท้ของการจัดการเรียนการสอนวิชาลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด ที่ยึดถือในระเบียบวินัย
มีจิตอาสา มีการบำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคม
รวมทั้งมีความเสียสละจากกิจกรรมการเรียนการสอนตามเป้าหมายสำคัญของการเรียนวิชาดังกล่าวไว้อย่างครบถ้ว
นทุกประการ

นอกจากนี้ สนศ. ยังได้ดำเนินงานตามนโยบายการดูแลคุณภาพทางการศึกษาในด้านต่าง ๆ

ของโรงเรียนสังกัด กทม. เพื่อให้เด็กนักเรียน “เรียนดี เรียนฟรีอย่างมีคุณภาพ”
โดยเฉพาะแนวทางสนับสนุนและจัดสวัสดิการด้านการศึกษาที่จำเป็นและเท่าเทียมสำหรับเด็กนักเรียนทุกคน เช่น
ชุดนักเรียน ชุดเครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี อุปกรณ์การเรียน อาหารเช้าและอาหารกลางวัน เป็นต้น
เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง สอดคล้องกับนโยบาย “9 ดี 9 ด้าน”
โดยด้านเรียนดีเป็นนโยบายเรียนฟรี เรียนดี ด้วยสวัสดิการ 20 รายการ
เป็นกรอบและทิศทางการพัฒนากรุงเทพฯ
ในการบริการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพฯ
โดยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดหาชุดนักเรียน ชุดเครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี ชุดอนุบาล
อุปกรณ์การเรียน อาหารเช้า อาหารกลางวัน ประกันอุบัติเหตุ ฯลฯ
สำหรับนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการ 20 รายการ ที่ กทม.
สนับสนุนผู้เรียนทุกคนในทุกกลุ่มประชากรให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยไม่เลือกปฏิบัติ
ขณะเดียวกัน กทม. ยังมีนโยบายกำหนดแนวทางการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนในสังกัด

ตามหนังสือ กทม. ที่ กท 0808/ว197 ลงวันที่ 23 มิ.ย. 66 แจ้งให้โรงเรียนในสังกัด กทม.
ทราบและถือปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์ลดภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง
โดยให้โรงเรียนในสังกัดจัดทำข้อกำหนดให้นักเรียนแต่งกายด้วย ชุดใดก็ได้ที่ไม่เป็นการบังคับอย่างน้อย 1 สัปดาห์
และให้นักเรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนด และประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นการทั่วไปก่อนนำไปประกาศใช้
โดยกรณีที่มีนักเรียนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวได้
ให้เป็นไปตามความประสงค์ของนักเรียนผู้นั้นที่จะสวมชุดนักเรียน ชุดพละ หรือชุดอื่นใดที่โรงเรียนกำหนด
ให้มีไว้อยู่แล้ว แต่ห้ามไม่ให้ดำเนินการในลักษณะที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพทางร่างกายและจิตใจ
รวมทั้งให้คำนึงถึงอัตลักษณ์ ความหลากหลาย ความเชื่อทางศาสนา และเพศวิถีของนักเรียน ทั้งนี้
การกำหนดแนวทาง การแต่งกายดังกล่าวให้เป็นไปตามที่โรงเรียนในแต่ละแห่งเป็นผู้กำหนด
โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดด้วย ซึ่งจะมีการหารือร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน
และผู้ปกครอง ถึงปัญหาต่าง ๆ ในเรื่องการแต่งกาย ทั้งความพึงพอใจ ความเท่าเทียม ค่าใช้จ่าย

การแสดงตัวตนและความปลอดภัยของนักเรียนหลังเลิกเรียน ขณะเดินทางก่อนกลับถึงบ้าน
พร้อมหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

Ad 1
Ad 2