ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ดำเนินโครงการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการปลาดุกเครือข่ายปลาดุกปลอดภัย “ดุกดี” จังหวัดปทุมธานี ภายใต้กรอบคิดโมเดล WOW (คน-ของ-ตลาด) เป็นกรอบแนวคิดสำคัญ โดยมีเป้าหมายในการสร้าง “ห่วงโซ่คุณค่าใหม่” (New Value Chain) ที่มีความยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
เมื่อเวลา 09.00น.วันที่ 5 มีนาคม2568 ที่วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตหมู่ 8 ตำบลคลองหก ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ผศ.ชวาลา ละวาทินสถาบันวิจัยและพัฒนารศ.ดร.อรสา จรูญธรรม รองอธิการบดี มรภ.วไลยอลงกรณ์รศ.ดร.นิสา พักตร์วิไล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผศ.ดร.รัตนา สีดี คณบดีคณะวิทยาการจัดการผศ.ดร.ทัศพร ชูศักด คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ผศ.หรรษา เวียงวะลัย คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตรนายเอกพล รัตนพันธ์ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมงนางสาวอรุณวดี สว่างดี สภาเกษตรกรแห่งชาตินายชุมพล มงคลสาร กองทุนพัฒนาไฟฟ้า โรงไฟฟ้าวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยานายพรหมชัย กล่อมบาง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตหมู่ 8นายภัคภาคิน อินทชาติ เจ้าพนักงานประมงปฏิบัติงานนางอารีวัฒน์ กล่อมบาง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตหมู่ 8นางสาวสุภา ชัยมานะเดช วิสาหกิจชมชนท่องเที่ยวฮักสนั่นรักษ์ผศ.ดร.ฐาปนา จ้อยเจริญคณบดีคณะครุศาสตร์ผศ.วัฒนี บุญวิทยา อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตรอาจารย์ธันย์นิชา วิโรจน์รุจน อาจารย์คณะวิทยาการจัดการอาจารย์ ว่าที่ ร.ต.ปิยะพงษ์ ยงเพชร หัวหน้าโครงการพร้อมส่วนเกี่ยวข้องสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ลงพื้นที่ (Site visit) ตรวจเยี่ยมพื้นที่วิจัยครั้งที่ 1/2568 “VRU Research Roadshow 2028” โดยในครั้งนี้ทางคคณะผู้บริหาร อาจารย์ นักวิจัย และบุคคลที่สนใจ ลงพื้นที่ภายใต้การดำเนินงานโครงการ “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยห่วงโซ่คุณค่าปลาดุกที่มีผลกระทบสูง จังหวัดปทุมธานี” สำหรับพื้นที่วิจัยนี้เป็น 1 ใน 18 พื้นที่กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน ซึ่งมี ว่าที่ ร.ต. ปิยะพงษ์ ยงเพชร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ภายใต้กรอบการวิจัย “การพัฒนาขีด ความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่” ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ( ววน.) และหน่วยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำหรับวัตถุประสงค์การลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมให้กำลังใจนักวิจัย ติดตามความก้าวหน้า และรับฟังผลการดำเนินงาน ของโครงการวิจัยที่ได้รับสนับสนุนทุนวิจัยและดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมาย พร้อมประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัย
การเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย: โอกาสและความท้าทายจากต้นน้ำถึงปลายน้ำในจังหวัดปทุมธานีปลาดุก เป็นหนึ่งในแหล่งโปรตีนสำคัญที่ได้รับความนิยมทั่วโลก ด้วยเนื้อปลา 100 กรัม ให้โปรตีนสูงถึง 15.5 กรัม และมีไขมันต่ำเพียง 7.6 กรัม ที่สำคัญยังมีโอเมก้า 3 ประมาณ 460 มิลลิกรัม ซึ่งเหมาะสำหรับผู้รักสุขภาพและสามารถบริโภคได้ทุกชนชาติและทุกศาสนาจังหวัดปทุมธานี ถือเป็นแหล่งผลิตปลาดุกอันดับหนึ่งของประเทศไทย มีมูลค่าการผลิตสูงถึง 729 ล้านบาท บนพื้นที่ 13,767 ไร่ และมีปริมาณการผลิตรวม 15,843 ตันต่อปี ในปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยมีการส่งออกปลาดุกทั้งแบบปลาสด แช่แข็ง และแปรรูป รวม 518 ตัน โดยมีตลาดหลัก ได้แก่ สปป.ลาว สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ขณะที่ประเทศมาเลเซียเป็นผู้นำเข้าปลาดุกจากไทยมากที่สุด รองลงมาคือประเทศจีน
อย่างไรก็ตาม ห่วงโซ่คุณค่าปลาดุก (Old Value Chain) ของไทยยังคงเผชิญกับ ข้อจำกัดหลายประการ ได้แก่
1. ความไม่แน่นอนของแหล่งลูกพันธุ์และคุณภาพของลูกปลา
2. ต้นทุนการผลิตที่สูงจากค่าอาหารและปัจจัยการผลิต
3. ข้อจำกัดด้านมาตรฐานความปลอดภัยอาหารและการควบคุมสารตกค้าง
4. การขาดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยของเกษตรกร
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทีมวิจัยจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ดำเนินโครงการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการปลาดุกเครือข่ายปลาดุกปลอดภัย “ดุกดี” จังหวัดปทุมธานี ภายใต้กรอบคิดโมเดล WOW (คน-ของ-ตลาด) เป็นกรอบแนวคิดสำคัญ โดยมีเป้าหมายในการสร้าง “ห่วงโซ่คุณค่าใหม่” (New Value Chain) ที่มีความยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยมีแนวทางในการขับเคลื่อนงานด้วยโมเดล WOW (กรอบวิจัย Local Enterprises) มีดังนี้:
• คน: มุ่งเน้นการยกระดับทักษะของเกษตรกรและผู้ประกอบการผ่านการอบรมและการถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการฟาร์มและการตลาด การบริหารจัดการการเงินครัวเรือน (กระเป๋าตังค์ครัวเรือน) ทำให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดภาระหนี้สิน
• ของ: มุ่งพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ปลาดุกและผลิตภัณฑ์แปรรูปให้ได้มาตรฐาน เช่น ปลาดุกแดดเดียว ปลาเส้น และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ โดยมีการควบคุมคุณภาพตั้งแต่การเลี้ยงจนถึงการแปรรูป เพื่อให้สินค้ามีความปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับในตลาดทั้งในและต่างประเทศ และเพิ่มโอกาสในการส่งออกปลาดุกสดในต่างประเทศ
• ตลาด: สร้างเครือข่ายและขยายช่องทางการจำหน่ายผ่านการจับคู่ธุรกิจกับผู้ประกอบการ การสร้างเครือข่ายที่แบ่งปัน เกื้อกูล และพึ่งพากัน รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ “ดุกดี…ปลาดุกปลอดภัย” เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและขยายส่วนแบ่งการตลาด
นอกจากนี้ โครงการยังส่งเสริมการใช้นวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น:
• ระบบฟักลูกปลาดุกแบบกรวยน้ำวน: มีการใช้นาโนบับเบิ้ลและระบบควบคุมอุณหภูมิ ช่วยเพิ่มอัตราการรอดของลูกปลาดุกและลดการใช้สารเคมี พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสในการเพิ่มผลผลิตในช่วงฤดูหนาว
• การใช้จุลินทรีย์ในการปรับคุณภาพน้ำ: ลดปัญหาน้ำเน่าเสียและสารตกค้างในบ่อเลี้ยง ทำให้ปลาดุกมีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
จากการดำเนินโครงการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าปลาดุกปลอดภัยในจังหวัดปทุมธานีได้สร้างผลลัพธ์ที่โดดเด่นในหลายด้าน ดังนี้
ด้านการผลิต สามารถเพิ่มคุณภาพของลูกพันธุ์ปลาดุกด้วยระบบฟักแบบกรวยน้ำวนที่ใช้นาโนบับเบิ้ลและระบบควบคุมอุณหภูมิ ส่งผลให้ลูกพันธุ์มีอัตราการรอดสูงขึ้นและมีสุขภาพแข็งแรง และช่วยสร้างโอกาสในการผลิตลูกพันธ์ปลาในช่วงฤดูหนาว ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการเลี้ยงปลา การใช้จุลินทรีย์ในการปรับคุณภาพน้ำช่วยลดการเน่าเสียและปัญหาสารตกค้าง ทำให้ปลาดุกมีคุณภาพที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
ด้านเศรษฐกิจ จากการสร้างเครือข่ายการรับซื้อปลาดุกสดมากถึง 6,000 กิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณ 2,000 ตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 12.6 ของปริมาณปลาดุกสดทั้งหมดในจังหวัดปทุมธานี เพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาดุกในการสร้างรายได้เพิ่มสร้างรายได้และลดต้นทุน: ช่วยลดต้นทุนการผลิตโดยเฉลี่ยได้ร้อยละ 10-15 ผ่านการจัดการต้นทุนอาหารและการใช้เทคโนโลยี พร้อมทั้งเพิ่มรายได้จากการแปรรูปปลาดุก เช่น ปลาดุกแดดเดียว ปลาเส้น และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ
ขยายตลาด: “ดุกดี…ปลาดุกปลอดภัย” ช่วยเปิดตลาดใหม่ ทำให้สินค้าปลาดุกปลอดภัยเป็นที่รู้จักและได้รับความเชื่อถือมากขึ้น
ด้านสังคมเพิ่มการจ้างงานในพื้นที่: การขยายตัวของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนสามารถสร้างงานให้กับคนในพื้นที่ได้มากกว่า 100 คน ช่วยลดอัตราการว่างงานและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและครอบครัว
การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม: การบริหารจัดการเครือข่ายแบบ Flow Supply Management ทำให้การกระจายรายได้เป็นธรรมระหว่างผู้เพาะพันธุ์ ผู้เลี้ยง และผู้แปรรูป ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและภาระหนี้สินของเกษตรกร
ด้านสิ่งแวดล้อมลดการใช้สารเคมี: การเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยด้วยอัตราความหนาแน่น 25-30 ตัวต่อตารางเมตร ช่วยลดความเสี่ยงของโรคและการใช้ยาปฏิชีวนะ ทำให้น้ำในบ่อเลี้ยงมีคุณภาพดีขึ้นและลดการปล่อยน้ำเสียสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
การจัดการของเสีย: ส่งเสริมการใช้เศษอาหารและวัสดุเหลือใช้ในฟาร์มเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารปลาดุก ลดปริมาณขยะและต้นทุนอาหารปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากการดำเนินงานเกิดการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการจำนวน 18 กลุ่ม ในวงจรธุรกิจการเลี้ยงปลาดุกตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำในจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ คนเพาะเลี้ยงลูกพันธุ์ คนเลี้ยงปลาดุก คนรวบรวม คนแปรรูป และคนขาย ที่มีกลไกการเชื่อมโยงเครือข่าย (Flow supply management) บนหนทางใหม่ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตลอดห่วงโซ่คุณค่า การสร้าง “ห่วงโซ่คุณค่าใหม่” (New Value Chain) สำหรับธุรกิจปลาดุกในจังหวัดปทุมธานี ไม่เพียงช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร แต่ยังสร้างความยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน ถือเป็นต้นแบบที่น่าศึกษาและต่อยอดสำหรับอุตสาหกรรมสัตว์น้ำของไทยในอนาคต
ปทุมธานี ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

