หน้าแรกภูมิภาคจังหวัดอุบลราชธานี จัดพิธีถวายราชสักการะแด่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 

จังหวัดอุบลราชธานี จัดพิธีถวายราชสักการะแด่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 

กดที่นี่เพื่ออ่านข่าว

จังหวัดอุบลราชธานี จัดพิธีถวายราชสักการะแด่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 

วันที่ 2 มีนาคม 2568 ที่อาคารอเนกประสงค์ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7 อุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี  ว่าที่พันตรีอดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานนำข้าราชการ ศาล ทหาร ตำรวจอัยการและพสกนิกรจังหวัดอุบลราชธานี ถวายเครื่องราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย

อาจเป็นรูปภาพของ 5 คน และ ข้อความ

สืบเนื่องจากวันนี้ เมื่อปีพุทธศักราช 2513 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานแนะแนวอาชีพและแข่งขันฝีมือช่างแห่งชาติ ณ ลุมพินีสถาน และพระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับการช่างของไทย ความตอนหนึ่งว่า “ช่างทุกประเภท เป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของทุกคน เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่าง จึงสมควรได้รับความเอาใจใส่สนับสนุนจากทุก ๆ ฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบันวิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้า ยิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูง ให้มีสิ่งใช้สอยที่มีคุณภาพดีและเพียงพอกับความต้องการ

อาจเป็นรูปภาพของ 3 คน

ในการส่งเสริมนั้น มีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่สามประการ ประการแรก ได้แก่ ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ทางหลักวิทยาการ และความรู้ทางการออกแบบ ประการที่สอง ได้แก่ ปัญหาเรื่องฝีมือ ซึ่งจะต้องปรับปรุงให้มีความประณีตและประสิทธิภาพได้มาตรฐานจริง ๆ ประการที่สาม ได้แก่ ปัญหาเรื่องการจัดหางานและหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำ มีตลาดที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่าย การช่วยเหลือทั้งสามประการนี้ จะต้องกระทำให้สอดคล้องกันไป เพื่อให้ช่างมีรายได้และผลกำไร สำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐานะและความก้าวหน้า” พระองค์ได้ฝากความคิดนี้ไว้เป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ

อาจเป็นรูปภาพของ 3 คน, ดอกไม้, งานแต่งงาน และ แท่นบรรยาย

จากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงสายพระเนตรอันยาวไกลที่มีพระราชดำริถึงความสำคัญของช่างฝีมือ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อทุกคนในสังคม จึงจำเป็นต้องพัฒนาให้มีฝีมือตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพราะนั่นหมายถึงคุณภาพของสินค้าและบริการตลอดจนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อประเทศไทย แม้จะผ่านมาถึง 55 ปีแล้ว ยังคงทันสมัยและนับวันจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งกระทรวงแรงงานได้น้อมนำใส่เกล้ามาปฏิบัติ ในการพัฒนากำลังแรงงานให้มีฝีมือ พัฒนาสู่มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งด้านการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ สร้างการยอมรับในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมโลก

อาจเป็นรูปภาพของ 7 คน, ดอกไม้, แท่นบรรยาย, วัด และ ข้อความ

ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์เป็น “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” พร้อมกับกำหนดให้วันที่ 2 มีนาคมของทุกปี เป็นวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จวบจนปัจจุบัน.

อาจเป็นรูปภาพของ 6 คน, ดอกไม้, แท่นบรรยาย และ งานแต่งงาน

อาจเป็นรูปภาพของ 7 คน, ดอกไม้, วัด, แท่นบรรยาย และ ข้อความ

อาจเป็นรูปภาพของ 4 คน, แท่นบรรยาย และ ข้อความ

อาจเป็นรูปภาพของ 5 คน, ดอกไม้, วัด, แท่นบรรยาย และ ข้อความพูดว่า "I F d I M h"

Ad 1
Ad 2
pratipon47
pratipon47http://www.เรื่องจริงผ่านเลนส์.online
ผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการ