หน้าแรกการเมืองสิ้น ธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตนายกรัฐมนตรี ถึงแก่อสัญกรรม ในวัย 97 ปี

สิ้น ธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตนายกรัฐมนตรี ถึงแก่อสัญกรรม ในวัย 97 ปี

กดที่นี่เพื่ออ่านข่าว

สิ้น ธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตนายกรัฐมนตรี ถึงแก่อสัญกรรม ในวัย 97 ปี ครอบครัวเตรียมแจ้งกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ

วันที่ 23 ก.พ. 25678 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตนายกรัฐมนตรี และองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ถึงแก่อสัญกรรม ในวัย 97 ปี

ทั้งนี้ สำหรับศาสตราจารย์พิเศษ ธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 9 ได้ถึงแก่อสัญกรรม สิริอายุ 97 ปี และนอกจากนี้ กำหนดการพิธีทางศาสนา จะมีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 17.00 น ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรฯ

สำหรับประวัติ ศาสตราจารย์พิเศษ  ธานินทร์ กรัยวิเชียร

ศาสตราจารย์พิเศษ  ธานินทร์ กรัยวิเชียร  ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ภ.ป.ร. ๒ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2470 ภูมิลำเนา ณ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรนานแห นางผะอบ กรัยวิเชียร สมรสกับคุณหญิง คาเรน กรัยวิเชียร (สกุลเดิม: แอนเดอเซ่น) มีบุตรด้วยกัน 5 คน

ด้านการศึกษา

ธานินทร์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น พ.ศ. 2479 ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ได้ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อที่ ณ วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร และ พ.ศ. 2496 เนติบัณฑิตอังกฤษจาก สำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา สำนักเกรย์สอินน์ ประเทศอังกฤษ

ด้านการทำงาน

ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์

ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่

ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

ศาสตราจารย์สอนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา

ศาสตราจารย์(พิเศษ)ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายกรัฐมนตรี ใน คณะรัฐมนตรีคณะที่ 39 ของไทย (8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520)

องคมนตรี (ตั้งแต่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2520 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559)

กรรมการตุลาการ (พ.ศ. 2521 – พ.ศ. 2528)

กรรมการร่างกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา

ประธานกรรมการปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

รองประธานกรรมการมูลนิธิจุฬาภรณ์

รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล

กรรมการบริหารสภากาชาดไทย

กรรมการบริหารศิริราชมูลนิธิ

บทบาททางการเมือง

ธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย ภายหลังจากที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยการนำของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สาเหตุที่เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจาก ขณะที่พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ทรงพระราชทานคำแนะนำแก่พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ให้ปรึกษาธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้พิพากษาศาลฎีกา ณ ขณะนั้น

ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร มีนโยบายโดดเด่นคือ การต่อต้านภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังมีอิทธิพลอย่างสูงในขณะนั้น นโยบายปราบปรามยาเสพติด โดยจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) อีกทั้งนโยบายด้านการปราบปรามคอรัปชั่น รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร นับว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการพลเรือนที่ใช้อำนาจจัดการประชาชนในข้อหาคอมมิวนิสต์ จนมีประชาชนส่วนหนึ่งหนีข้อหานี้เข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน สั่งปิดหนังสือพิมพ์ ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์ถึง 22 ครั้ง ซึ่งผู้สั่งปิดได้แก่ สมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจคำสั่งปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 เป็นยุคมืดของวงการสื่อสารมวลชนและนักหนังสือพิมพ์

อย่างไรก็ตามเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่ซื่อสัตย์สุจริตที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย ภายหลังจากที่คณะปฏิวัติได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของธานินทร์แล้ว พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งธานินทร์ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนสิ้นรัชกาล โดยก่อนหน้านั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต และพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จะปฏิบัติหน้าที่องคมนตรีในคราวเดียวกันไม่ได้ ดังนั้น คณะองคมนตรีจึงได้มีมติเลือกธานินทร์ ซึ่งเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุด เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี

รางวัลและเกียรติยศ

ศาสตราจารย์พิเศษ ธานินทร์ ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดน เป็น ศาสตราจารย์ นายกองใหญ่ ธานินทร์ กรัยวิเชียร เมื่อ พ.ศ. 2520

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

พ.ศ. 2537 –เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)

พ.ศ. 2521 –เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

พ.ศ. 2520 –เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

พ.ศ. 2561 –เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขานิติศาสตร์

พ.ศ. 2520 –เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)

พ.ศ. 2520 –เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1

พ.ศ. 2522 –เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)

Ad 1
Ad 2
pratipon47
pratipon47http://www.เรื่องจริงผ่านเลนส์.online
ผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการ