จังหวัดอุบลราชธานี ประชุมคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมปทุมวรราช ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ว่าที่พันตรีอดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งฝ่ายทหาร ตำรวจและพลเรือน เข้าร่วมประชุม
คณะกรรมการ กอ.รมน. มีภารกิจสำคัญในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในทุกรูปแบบ ทั้งปัจจัยภายนอกประเทศ ภายในประเทศ รวมถึงความท้าทายด้านความมั่นคงในรูปแบบใหม่ๆ โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ได้มอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติงานในปี 2568 ในทั้งหมด 5 ด้าน ดังนี้
1.) ด้านความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม อีกทั้งการลักลอบตัดไม้ การเผาป่า การเผาในพื้นที่เกษตร ซึ่งก่อใหเกิดปัญหา PM2.5 และการกำจัดหรือฝังกลบกากอุตสาหกรรม
2.) ด้านความมั่นคงทางสังคม ในการตัดต้นตอของยาเสพติดสกัดกั้นและตัดเส้นทางการลักลอบนำยาเสพติดเข้าประเทศ ปราบปรามและยึดทรัพย์ผู้ค้ายางเด็ดขาด แล้วค้นหาผู้เสพในชุมชนนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูตลอดจนพัฒนาการติดตามช่วยเหลือและส่งเสริมคุณภาพให้มีทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อดำรงชีวิตกับสื่อสังคม อีกทั้งการป้องกันและปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติและรับมือกับอาชญากรรมออนไลน์ รายการแก้ไขไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้นอกระบบให้กับพี่น้องประชาชน
3.) แก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
4.) การพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร ปัญหาด้านความมั่นคงในปัจจุบันซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าเดิม ทั้งในแง่ตัวแสดงและรูปแบบของภัยคุกคามทางเทคโนโลยีที่นำมาเป็นเครื่องมือในการก่อเหตุ
ในการนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้กล่าวว่า ปัญหาความมั่นคงภายในจังหวัดอุบลราชธานี มีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ทั้งปัญหายาเสพติด การลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ภัยธรรมชาติ และอาชญากรรมต่างๆ โดยเฉพาะทางออนไลน์ที่ในปัจจุบันสร้างความเสียหายในหลายๆด้าน การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การเผาก่อมลพิษต่างๆ
นอกจากที่เราจะดำเนินการตามภารกิจในการป้องกัน ปราบปราม บำบัดและฟื้นฟูแล้วนั้น การสร้างความเชื่อมั่น ความศรัทธาและการเป็นที่พึ่งของประชาชนได้นั้นจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมให้น่าอยู่และเป็นที่ยอมรับของพี่น้องประชาชนอีกด้วย
นอกจากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวเพิ่มเติมในกรณี ความปลอดภัยในโรงพยาบาลอีกว่า โรงพยาบาลเป็นสถานที่ที่ต้องได้รับความคุ้มครองความปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันการก่อเหตุในโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากบุคคลภายนอกและผู้ป่วยจิตเวชที่รักษาในโรงพยาบาลทุกระดับ จนถึงระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ต้องมีผู้ที่มีความชำนาญ ซึ่งได้รับการฝึกควบคุมสถานการณ์ ในเหตุการณ์ความรุนแรงได้ จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการฝึกเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับสถานการณ์อีกด้วย.