วันนักประดิษฐ์ของไทย จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ กังหันน้ำชัยพัฒนา และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์
วันนักประดิษฐ์ของไทย ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี กำหนดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ทั้งนี้เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ที่ได้ทรงประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ กังหันน้ำชัยพัฒนา และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 และเพื่อเป็นที่ระลึกในวาระการจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระมหากษัตริย์ พระองค์แรกของ
ย้อนกลับไปเมื่อ 28 ปีที่แล้วมีเหตุการณ์สำคัญต่อวงการประดิษฐ์ไทย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 สภาวิจัยแห่งชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่พระพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศวร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น “วันนักประดิษฐ์”
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 กำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของปีเป็น “วันนักประดิษฐ์” เพื่อเทิดพระเกียรติพระพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศวร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้น “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” และได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งนอกจากจะเป็นการเทิดพระเกียรติแล้ว ยังนับเป็นวันระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและ ออกสิทธิบัตรแด่พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก และทรงได้รับสมัญญาว่า “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” อีกทั้งกังหันน้ำชัยพัฒนายังเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับการจดสิทธิบัตร
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2544 นายกรัฐมนตรีมีบัญชามอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในขณะนั้น หรือสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในปัจจุบัน เป็นหน่วยงานกลางในการจัดงาน “วันนักประดิษฐ์” เพื่อส่งเสริมการคิดค้นและประดิษฐ์สิ่งที่เป็นประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ โดยร่วมงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนส่งเสริมและสนับสนุนการประดิษฐ์คิดค้นของนักประดิษฐ์ในทุกระดับ เช่น นักเรียน เยาวชน นิสิตนักศึกษา และประชาชน ให้สามารถพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง และส่งเสริมการประดิษฐ์คิดค้นของคนไทยให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) การจัดงานวันประดิษฐ์ประจำปี พ.ศ.2564 จึงเลื่อนไปจัดวันที่ 26 พฤษภาคม – 30 พฤษภาคม 2564
นอกจากนี้ วช. และสมาพันธ์นักประดิษฐ์นานาชาติ (IFIA) สมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์สาธารณัฐเกาหลีใต้ (KIPA) และองค์กรนักประดิษฐ์แห่งรัสเซีย (Association Russian House) ได้ทูลเกล้าถวายรางวัลนักประดิษฐ์โลกแด่พระบรมราชสมภพพระบรมชนกาธิเบศวร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระราชวังไกลกังวล เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2552 และองค์กรการประดิษฐ์นานาชาติยังได้ถวาย พระราชสมัญญานามว่า “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์โลก” และกำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น วันนักประดิษฐ์โลก (International Inventor Day Convention: IIDC)
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันนักประดิษฐ์
- เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงพระปรีชาสามารถประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ
- เพื่อระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรถวายแด่พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก
- เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานของนักประดิษฐ์ไทยให้เป็นที่รู้จัก
- เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเทคโนโลยีอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
- เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและประสานประโยชน์ระหว่างภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์คิดค้น
- เพื่อสนับสนุนและให้กำลังใจแก่นักประดิษฐ์เยาวชนและประชาชนทั่วไปในอันที่จะแสดงความรู้ความสามารถต่อสาธารณชน เพื่อจะได้ทำการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น
- เพื่อประกาศเกียรติคุณแก่นักประดิษฐ์ที่มีความสามารถ และนำผลงานของนักประดิษฐ์ออกเผยแพร่ใช้งานได้อย่างจริงจัง